หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
เรื่อง นิทานเวตาล (เรื่องที่ 10)
ความเป็นมา
นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ
โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน
แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน
จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์ อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ
พ.ศ. 2461
นิทานเวตาลเป็นนิทานที่มีลักษณะเป็นนิทานซับซ้อนนิทาน คือ
มีนิทานเรื่องย่อยซ้อนอยู่ในนิทานเรื่องใหญ่
ประวัติผู้แต่ง
พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
ทรงชำนาญด้านภาษาและวรรณคดีเป็นพิเศษ
ได้ทรงนิพนธ์หนังสือไว้มากมายโดยใช้นามแฝงว่า “น.ม.ส.” ซึ่งทรงเลือกจากตัวอักษรตัวหลังพยางค์ของพระนาม (พระองค์เจ้า)“รัชนีแจ่มจรัส”
ลักษณะคำประพันธ์
นิทานเวตาล แต่งเป็นร้อยแก้ว โดยนำทำนองเขียนร้อยแก้วของฝรั่งมาปรับเข้ากับสำนวนไทยได้อย่างกลมกลืน
และไม่ทำให้เสียอรรถรส แต่กลับทำให้ภาษาไทยมีชีวิตชีวา
จึงได้รับยกย่องเป็นสำนวนร้อยแก้วที่ใหม่ที่สุดในยุคนั้น เรียกว่า “สำนวน น.ม.ส.”
เรื่องย่อ
ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ
พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล
มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว
ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้
พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี
ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถูกโจรรุมทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์และสิ่งของมีค่า
จนพระองค์สิ้นพระชนม์ จนพระราชธิดาและพระมเหสีเสด็จหนีเข้าไปในป่าลึก
ในเวลานั้นมีพระราชาทรงพระนามว่า ท้าวจันทรเสน กับพระราชบุตร
ได้เสด็จมาประพาสป่าและพบรอยเท้าของสตรีซึ่งเมื่อพบสตรีทั้งสองจะให้รอยเท้าที่ใหญ่เป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน
และรอยเท้าที่เล็กเป็นพระชายาของพระราชบุตร แต่เมื่อพบนางทั้งก็ปรากฏว่า
รอยเท้าที่ใหญ่คือพระราชธิดา และรอยเท้าที่เล็ก นั้นคือ พระราชมารดา
ดังนั้นพระราชธิดาจึงเป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน
และพระมารดาได้เป็นพระชายาของพระราชบุตร
เนื้อเรื่อง
เวตาลกล่าวว่า ครั้งนี้ข้าพเจ้าเขม่นตาซ้ายหัวใจเต้นแรง
แลตาก็มืดมัวเหมือนลางไม่ดีเสียแล้ว แต่ข้าพเจ้าจะเล่าเรื่องจริงถวาย
แลเหตุที่ข้าพเจ้าเบื่อหน่ายที่ต้องถูกแบกหามไปหามมา
ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ
พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล
มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว
ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้
พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี
ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถูกโจรรุมทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์และสิ่งของมีค่า
จนพระองค์สิ้นพระชนม์ จนพระราชธิดาและพระมเหสีเสด็จหนีเข้าไปในป่าลึก
ในเวลานั้นมีพระราชาทรงพระนามว่า ท้าวจันทรเสน กับพระราชบุตร
ได้เสด็จมาประพาสป่าและพบรอยเท้าของสตรีซึ่งเมื่อพบสตรีทั้งสองจะให้รอยเท้าที่ใหญ่เป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน
และรอยเท้าที่เล็กเป็นพระชายาของพระราชบุตร แต่เมื่อพบนางทั้งก็ปรากฏว่า
รอยเท้าที่ใหญ่คือพระราชธิดา และรอยเท้าที่เล็ก นั้นคือ พระราชมารดา
ดังนั้นพระราชธิดาจึงเป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน
และพระมารดาได้เป็นพระชายาของพระราชบุตร
ครั้นกษัตริย์ทั้งสององค์ทรงกระทำสัญญาแบ่งนางกันดังนี้แล้ว
ก็ชักม้าตามรอยเท้านางเข้าไปในป่า
พระราชากับพระราชบุตรก็เชิญนางทั้งสองขึ้นบนหลังม้าองค์ละองค์
นางพระบาทเขื่องคือพระราชธิดาขึ้นทรงม้ากับท้าวจันทรเสน
นางพระบาทเล็กคือพระมเหสีขึ้นทรงช้างกับพระราชบุตร สี่องค์ก็เสด็จเข้ากรุง
กล่าวสั้นๆ ท้าวจันทรเสน แลพระราชบุตรก็ทำวิวาหะทั้งสองพระองค์
แต่กลับคู่กันไป คือพระราชบิดาวิวาหะกับพระราชบุตรี พระราชบุตรวิวาหะกับพระมเหสี แลเพราะเหตุที่คาดขนาดเท้าผิด
ลูกกลับเป็นเมียพ่อ แม่กลับเป็นเมียลูก ลูกกลับเป็นแม่เลี้ยงของผัวตัวเอง
แลแม่กลับเป็นลูกสะใภ้ของผัวแห่งลูกตน
แลต่อมาบุตรแลธิดาก็เกิดจากนางทั้งสอง แลบุตรแลธิดาของนางทั้งสองก็มีบุตรแลธิดาต่อๆกันไป
เวตาลเล่ามาเพียงครู่หนึ่ง แล้วกล่าวต่อไปว่า
“บัดนี้ข้าพเจ้าจะตั้งปัญหาทูลถามพระองค์ว่า
ลูกท้าวจันทรเสนที่เกิดจากธิดาท้าวมหาพลลูกพระมเหสีท้าวมหาพลที่เกิดกับพระราชบุตรท้าวจันทรเสนนั้น
จะนับญาติกันอย่างไร”
พระวิกรมาทิตย์ได้ทรงฟังปัญหาก็ทรงตรึกตรองเอาเรื่องของพ่อกับลูก แม่กับลูก
แลกับน้องมาปนกันยุ่ง แลมิหนำซ้ำมาเรื่องแม่เลี้ยงกับแม่ตัว แลลูกสะใภ้กับลูกตัวอีกเล่า
พระราชาทรงตีปัญหายังไม่ทันแตก
พอนึกขึ้นได้ว่าการพาเวตาลไปส่งคืนโยคีนั้นจะสำเร็จก็ด้วยไม่ทรงตอบปัญหา
จึงเป็นอันทรงนิ่งเพราะจำเป็นแลเพราะสะดวก ก็รีบสาวก้าวดำเนินเร็วขึ้น
ครั้นเวตาลทูลเย้าให้ตอบปัญหาด้วยวิธีกล่าวว่าโง่ จะรับสั่งอะไรไม่ได้
ก็ทรงกระแอม
เวตาลทูลถามว่า
“รับสั่งตอบปัญหาแล้วไม่ใช่หรือ”
พระราชาไม่ทรงตอบว่ากระไร เวตาลก็นิ่งครู่หนึ่งแล้วทูลถามว่า
“บางมีพระองค์จะโปรดฟังเรื่องสั้นๆ อีกสักเรื่องหนึ่งกระมัง”
ครั้งนี้แม้แต่กระแอม พระวิกรมาทิตย์ก็ไม่ทรงกระแอม
เวตาลจึ่งกล่าวอีกครั้งหนึ่งว่า
“เมื่อพระองค์ทรงจนปัญญาถึงเพียงนี้
บางทีพระราชบุตรซึ่งทรงปัญญาเฉลียวฉลาดจะทรงแก้ปัญหาได้บ้างกระมัง”
แต่พระธรรมวัชพระราชบุตรนิ่งสนิททีเดียว
คำศัพท์
บทวิเคราะห์
ความดีเด่นด้านกลวิธีการแต่ง
1 การใช้สำนวนโวหาร
นิทานเวตาล ฉบับพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ มีการใช้สำนวนโวหารเปรียบเทียบที่ไพเราะและทำให้เห็นภาพแจ่มชัดขึ้น
2 การใช้กวีโวหาร
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงแปลนิทานเวตาลด้วยภาษาที่กระชับ
อ่านง่าย มีบางตอนที่ทรงใช้สำนวนภาษาบาลี ซึ่งไม่คุ้นหูผู้อ่านในยุคนี้
เพราะไม่นิยมใช้แล้วในปัจจุบัน
คุณค่าด้านปัญญาและความคิด
1 ความอดทนอดกลั้น
ความอดทนเป็นคำสอนในทุกศาสนา ดังนั้นเมื่อไม่ตอบปัญหาในเรื่องที่ 10
เวตาลจึงกล่าวชมว่า ทรงตั้งพระราชหฤทัยดีนัก พระปัญญาราวกับเทวดาและมนุษย์อื่นที่มีปัญญา
จะหามนุษย์เสมอมิได้
2 ความเพียรพยายาม
เวตาลมักยั่วยุให้พระวิกรมาทิตย์แสดงความคิดเห็นออกมา
ทำให้พระองค์ต้องกลับไปปีนต้นอโศกเพื่อจับเวตาลใส่ย่ามกลายครั้ง
3 การใช้สติปัญญา
การแก้ปัญหาต่างๆ จำเป็นต้องใช้สติและปัญญาควบคู่กันไป
จากนิทานเวตาลเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้ปัญญาของพระวิกรมาทิตย์อย่างเดียวนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาและเอาชนะเวตาลได้
แต่พระองค์ต้องใช้สติประกอบกับปัญญาควบคู่กันไปจึงเอาชนะเวตาลได้
4 ความมีสติ
ความเป็นผู้มีทิฐิมานะ ไม่ยอมในสิ่งที่ไม่พอใจ
บางครั้งอาจส่งผลเสียต่อผู้นั้นเอง ดังนั้น การพยายามยับยั้งชั่งใจ ไม่พูดมากปากไวจนเกินไป จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเพราะเมื่อใด
เราคิดก่อนพูด ไม่ใช่พูดแล้วคิด เมื่อนั้นเราก็มีสติ
สติเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะเป็นพื้นฐานของสมาธิและปัญญา ถ้าไม่มีสติ
สิ่งต่างๆที่เราทำไปหรือตัดสินใจไปโดยไร้สติอาจส่งผลร้ายเกินกว่าจะประเมินได้
5 การเอาชนะข้าศึกศัตรู
ในการทำสงครามนั้นผู้ที่มีความชำนาญ
มีเล่ห์เหลี่ยมในกลศึกมากกว่าย่อมได้ชัยชนะ
6 ข้อคิดเตือนใจ
เครื่องประดับเป็นสิ่งที่ทำให้ได้รับอันตรายจากโจรผู้ร้าย
แม้จะเป็นชายที่มีฝีมือเช่นท้าวมหาพลก็ตาม เมื่อตกอยู่ในหมู่โจรเพียงคนเดียว
ย่อมเสียทีได้
คุณค่าด้านความรู้
การอ่านนิทานเวตาลทำให้ได้รู้ถึงวัฒธรรมและค่านิยมของชาวอินเดียในยุคโบราณ
เช่น ค่านิยมที่ชายจะมีภรรยาได้หลายคนโดยเฉพาะชายสูงศักดิ์
เพราะถือส่าเรือนที่อบอุ่นจะต้องมีแม่เรือน
|
วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559
นิทานเวตาลที่10
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น